จาระบีคืออะไร? 8 ประเภทของจาระบีที่รู้แล้วเซียนเลย

จาร บี คือ อะไร? วันนี้เราจะมาอธิบายกันให้เข้าใจซึ่ง “Grease” หรือที่คนไทยเรียกกันว่า “จาระบี” คือสารหล่อลื่นชนิดหนึ่งที่นำมาใช้งานกับชิ้นส่วนเครื่องจักรเพื่อลดแรงเสียดทานและป้องกันพื้นผิวไม่ให้เสื่อมสภาพจากการกัดกร่อน มีลักษณะทางกายภาพกึ่งของแข็งและกึ่งของเหลวทำให้สามารถยึดเกาะกับชิ้นงานได้ดี จาระบีจึงเหมาะกับการใช้งานบริเวณชิ้นส่วนที่ไม่สามารถใช้น้ำมันหล่อลื่นทั่วไปได้ อย่างเช่น ตลับลูกปืน ฟันเฟือง ข้อเหวี่ยง เป็นต้น เพราะชิ้นส่วนเหล่านี้ไม่สามารถกักเก็บน้ำมันหล่อลื่นชนิดทั่วไปที่มีความเหลวสูงไว้ได้ อย่างไรก็ตามในบางระบบอาจจะสร้างที่กักเก็บน้ำมันได้เช่นกัน แต่ด้วยวิธีนั้นจะต้องมีต้นทุนที่สูงขึ้นในการสร้างเครื่องจักรให้รองรับการใช้น้ำมันเป็นสารหล่อลื่นได้ เพราะอย่างนี้จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้สารหล่อลื่นที่มีคุณสมบัติกึ่งของแข็งกึ่งของเหลว ยืดเกาะได้ดี อย่างจาระบีเป็นต้น

 

หน้าที่หลักของจาระบี

  • เป็นสารหล่อลื่นเพื่อลดแรงเสียดทานระหว่างชิ้นส่วนของเครื่องจักร
  • ช่วยลดปัญหาเสื่อมสภาพจากการกัดกร่อนและป้องกันสนิมที่อาจจะเกิดขึ้นได้บนชิ้นส่วน
  • ช่วยซับแรงกดและแรงกระแทกจากเครื่องจักร
  • ยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเครื่องจักร
  • ช่วยไม่ให้เกิดการเสียดสีระหว่างชิ้นส่วนที่หมุน ทำให้ไม่เกิดความร้อนสะสม
  • ช่วยป้องกันฝุ่นละอองและความชื้นเข้าไปทำลายชิ้นส่วนของเครื่องจักร

 

จาระบีทำมาจากอะไร

จารบีคืออะไร?

 

จาระบีบนท้องตลาดที่มีให้เลือกใช้งานสำหรับงานแต่ละประเภท ทำมาจากสารประกอบหลักเพียงสามตัว คือ น้ำมันหล่อลื่น (Lubricant Oil) สารอุ้มน้ำมัน (Thickener) และสารเพิ่มคุณสมบัติ (Additives) ซึ่งจะทำการผสมน้ำมันหล่อลื่นเข้ากับสารอุ้มน้ำมันในปริมาณที่แตกต่างขึ้นอยู่กับว่าต้องการระดับความหนืดมากน้อยเพียงใด และหากต้องการให้จาระบีมีคุณสมบัติพิเศษอย่างเช่นการ ทนความร้อนสูง ทนน้ำ ป้องกันการเกิดสนิม หรือ ทนต่อความเร็วรอบสูง จะต้องใส่สารเพิ่มคุณสมบัติอื่นๆ เข้าไปเพิ่ม

 

ข้อควรระวังเมื่อต้องการใช้จาระบี

ในการใช้จาระบีตัวผู้ใช้จะต้องมีความชำนาญระดับหนึ่งเนื่องจากหากใช้ไม่ถูกต้องโอกาสที่เครื่องจักรจะได้รับความเสียหายสามารถเกิดขึ้นได้สูง ดังนั้นแล้วการศึกษาว่า จาร บี คือ อะไร มีข้อควรระวังยังไง คือเรื่องพื้นฐานสำคัญที่ต้องทราบก่อน ซึ่งวันนี้เราสามารถสรุปข้อควรระวังในการใช้จาระบีได้ดังนี้

 

  • อัดจาระบีน้อยเกินไปอาจจะทำให้เครื่องจักรเกิดความเสียหาย

หากอัดจาระบีไม่เพียงพอจะส่งผลให้เกิดปัญหาได้ในระยะหลังจากติดตั้งไปได้สักพัก ในตอนแรกอาจจะไม่พบความผิดปกติใดๆ แต่เมื่อจาระบีเริ่มเหลือน้อยลงจะทำให้ชิ้นส่วนเหล็กหมุนกระทบและเสียดสีกันจนเกิดความร้อน หากไม่รีบแก้ไขอาจจะต้องเสียเงินเสียเวลาจำนวนมาก

 

  • อัดจาระบีมากเกินไปสามารถทำให้เครื่องจักรเกิดความเสียหายได้

นอกจากการอัดจาระบีน้อยเกินไปแล้ว การอัดมากเกินไปก็ไม่ส่งผลดีต่อการทำงานของเครื่องจักรเพราะเมื่ออัดจาระบีจำนวนมากเกินไปเครื่องจักรจะต้องทำงานหนักเพื่อให้สามารถหมุนได้อย่างลื่นไหล และการอัดจาระบีจนแน่นยังส่งผลให้บริเวณตรงนั้นไม่สามารถระบายความร้อนได้ดี ทำให้จาระบีมีอุณหภูมิที่สูงเกิดการเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ซึ่งเมื่อจาระบีเสื่อมสภาพสารหล่อลื่นอาจจะทำการแยกตัวกับสารอุ้มน้ำมัน ส่งผลให้น้ำมันหล่อลื่นรั่วไหลออกไปหมด เหลือทิ้งไว้แค่สารอุ้มน้ำมันที่เหนียวเหนอะ

 

  • ใช้งานจาระบีผิดประเภท

จารบี ใช้ ทำ อะไร ข้อควรระวังอย่างมากเลยก็คือการเลือกใช้จาระบีผิดประเภท ซึ่งจะส่งผลร้ายต่ออุปกรณ์ภายในเครื่องจักรได้ เพราะถ้าเราใช้จาระบีที่ไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมก็จะส่งผลให้ชิ้นส่วนเช่น ตลับลูกปืน หรือ ข้อเหวี่ยง ต่างๆ เสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วทำงานล้มเหลวในที่สุด เพราะฉะนั้นการเลือกจาระบีให้ตรงชนิดเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เช่น หากบริเวณที่ต้องการอัดจาระบีมีความร้อนเกิน 100 องศาเซลเซียส ให้ทำการอัดจาระบีทนความร้อนสูง เท่านั้น

อ่านต่อ:  ตารางจารบี: วิธีเลือกจารบี SKF ตำราเดียวจบ

 

การเสื่อมสภาพของจาระบี

แม้ว่าจาระบีจะเป็นสารหล่อลื่นที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ก็มีวันเสื่อมสภาพได้เช่นกัน ซึ่งอายุการใช้งานของจาระบีที่ได้คุณภาพมาตรฐานการผลิตที่ดีจะสามารถอยู่ได้ 2-3 ปีเป็นอย่างต่ำ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมบริเวณที่ใช้จาระบี หากต้องเจอกับฝุ่นจำนวนมาก หรือความร้อนสูงเป็นระยะเวลานาน จาระบีอาจจะเสื่อมสภาพได้ไวกว่าปกติ การหมั่นตรวจเช็ก และสังเกตความผิดปกติของเครื่องจักรจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันการเสียหายของชิ้นส่วนภายเครื่อง

  • เมื่อไหร่ที่ควรอัดจาระบี?

ควรทำการตรวจสอบคุณภาพของจาระบีทุกครั้งเมื่อได้รื้อเปลี่ยนชิ้นส่วนภายในเครื่องจักร หรือหากใช้งานเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง ควรทำการอัดจาระบีใหม่อย่างน้อยๆ ทุก 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ หรือหากชิ้นส่วนเครื่องจักรนั้นถูก ฝุ่น น้ำ ความร้อน หรือ สิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ตลอดเวลาขณะทำงาน ควรทำการตรวจเช็กและอัดจาระบีใหม่ทุกๆ 3-4 เดือน เพื่อป้องกันการสึกหรอของชิ้นส่วนต่างๆ

  • วิธีสังเกตอาการจาระบีหมดสภาพ

หากต้องรู้ว่าจาระบีในเครื่องจักรยังมีสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่ถือเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากการตรวจสอบให้แน่ชัดจะต้องทำการรื้อประกอบเท่านั้น หากเราสงสัยว่าจาระบีเสื่อมสภาพแล้ว เมื่อทำการรื้อเครื่องจักรมีอาการหลายอย่างที่สามารถบอกเราได้ว่า ควรจะล้างอัดจาระบีใหม่ได้แล้ว โดยสิ่งที่ต้องสังเกตมีดังนี้

  • มีเสียงดังผิดปกติดังมาจากบริเวณข้อเหวี่ยง ฟันเฟือง หรือ ตลับลูกปืน ของเครื่องจักร
  • มีฝุ่นจำนวนมากผสมเข้าไปกับจาระบี ทำให้ลักษณะของจาระบีมีความแห้งฝืด
  • จาระบีมีลักษณะสีเข้มและมีความหนืดสูงผิดปกติเกิดจากความร้อน
  • จาระบีมีลักษณะเหลวเกิดจากการผสมกันระหว่างจาระบีและความชื้น
  • บริเวณตลับลูกปืนมีความร้อนสูง ซึ่งเกิดจากการเสียดสีเพราะจาระบีไม่เพียงพอหรือหมดสภาพ

 

8 ชนิดของจารบีที่ถ้าคุณรู้แล้วจะเซียนเลย

การเลือกใช้ประเภทจาระบีให้เหมาะกับชิ้นงาน

การเลือกใช้จาระบีให้เหมาะกับงานถือเป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เด็ดขาด เพราะหากใช้ผิดประเภทนอกจากจะไม่มีประสิทธิภาพยังทำให้เครื่องจักรเสื่อมไวด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นตามมาดูกันว่า สาร หล่อลื่น คือ อะไร มีอะไรบ้าง จาระบีแต่ละชนิดควรใช้กับงานแบบไหนดังนี้

 

1. จาระบีทั่วไป

เหมาะสำหรับเครื่องจักรที่มีรอบความเร็วระดับปานกลาง ไม่เจอฝุ่นละอองเยอะ และทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิปกติทั่วไป

2. สัมผัสน้ำและความชื้น

หากจุดที่ต้องการอัดจาระบีสัมผัสกับของเหลวและความชื้นอยู่ตลอดเวลาควรเลือกใช้จาระบีชนิดทนที่ทนต่อความชื้นได้เท่านั้น เพราะหากเลือกใช้จาระบีผิดประเภทจะทำให้จาระบีเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วเมื่อผสมกับเข้ากันกับน้ำ

3. ทนความร้อนสูง

จาระบีที่สามารถทนความร้อนได้ สาร หล่อลื่น คือ อะไร มีอะไรบ้าง มีอยู่หลากหลายระดับ หากอุณหภูมิบริเวณที่อัดจาระบีมีความร้อน 100-150 องศาเซลเซียสควรเลือกใช้จาระบีชนิดทนความร้อนสูง LGHP 2 SKF หรือ LGED 2 SKF เท่านั้น เพราะหากใช้จาระบีทั่วไปเมื่อเกิน 100 องศาจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นของเหลวไหลออกมาทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีจาระบีที่สามารถทนความร้อนเกิน 150 องศาได้อีกด้วยอย่างเช่น LGEP 2SKF และ LGET 2 SKF เหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการจาระบีทนความร้อนสูงพิเศษ

สนใจจารบีทนความร้อนสูง แต่ไม่รู้ซื้อยี่ห้อไหนดี อ่านต่อ: 8 อันดับ จารบีทนความร้อนสูงยี่ห้อไหนดี ?

4. ทนความเย็น

จาระบีทั่วไปไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่เย็นจัดเพราะมีจุดเยือกแข็งต่ำ ทำให้เมื่อเจออุณหภูมิที่ต่ำมากๆ แล้วเกิดอาการหนืดหรือกลายเป็นของแข็งไปเลย เพราะอย่างนี้จึงมีจาระบีรุ่นที่สามารถทนความเย็นได้มากถึง -50 องศาเซลเซียสอย่าง LGLT 2 SKF 

5. รับแรงกดดันสูง

หากเครื่องจักรต้องทำการสตาร์ทใหม่บ่อยๆ หรือต้องรับแรงกระแทกเป็นเวลาต่อเนื่องควรเลือกใช้จาระบีที่มีคุณสมบัติสามารถทนแรงกดดันได้สูง อย่าง LGEP 2 SKF หรือ LGFQ 2 SKF

6. สภาพแวดล้อมมีสิ่งแปลกปลอมเยอะ

ถ้าบริเวณที่ต้องการอัดจาระบีมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่เยอะ เช่นตามอุตสาหกรรมผลิตแป้งมัน ควรเลือกใช้จาระบีชนิดพิเศษที่สามารถทนต่อฝุ่นละอองได้เป็นอย่างดี เมื่อฝุ่นละอองเข้าไปผสมกับจาระบีจะไม่ทำให้จาระบีเสียคุณสมบัติ สามารถยืดอายุการอัดจาระบีใหม่ได้ยาวนานกว่าการใช้จาระบีธรรมดา

7. ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร

จาระบีที่นำมาใช้ภายในเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหารจะต้องใช้ส่วนประกอบจาระบีชนิดที่เป็น Food Grade เท่านั้น ต้องไม่เป็นอันตรายหากรับประทานเข้าไป

8. ทนน้ำและความร้อน

ชิ้นงานที่โดนทั้งความร้อนและความชื้น ต้องเลือกใช้จาระบีชนิดทนน้ำและความร้อนได้ หรือที่เรียกว่าจาระบีชนิดคอมเพล็กซ์ ซึ่งจะมีราคาสูงกว่าจาระบีชนิดอื่น

 

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับความรู้ที่เรานำมาแชร์ในวันนี้ สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่า จาร บี ใช้ ทำ อะไร ควรเลือกใช้จาระบีชนิดไหนให้เหมาะกับเครื่องจักรตัวเอง สามารถติดต่อเราได้ทางไลน์หรือเบอร์โทร มีทีมวิศวะที่พร้อมจะให้คำแนะนำด้านการเลือกใช้จาระบี ให้คุณสามารถเลือกซื้อจาระบีได้ตรงกับลักษณะงาน ยืดอายุการใช้งานและลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรได้อีกหลายเท่าตัว