4 ขั้นตอน วิธีเลือกใช้ลูกปืนทนความร้อนสูง (ด้วยตัวเองง่าย ๆ)
การที่คุณเลือกใช้ตลับลูกปืนที่ไม่ถูกคุณลักษณะกับสภาวะการทำงาน จะส่งผลให้ตลับลูกปืนในเครื่องจักรของคุณพังเร็วอย่างเหลือเชื่อ
เครื่องจักรที่ทำงานภายใต้ความร้อนจัด มักส่งผลให้ตัวตลับลูกปืนแตกหรือพังเร็วเพราะเนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นกับตัวตลับลูกปืนอาจจะส่งผลเสียที่ตามมาเช่น:
- 🔥ขาดการหล่อลื่น: ตัวเนื้อจารบีเหลวตัวลง เพราะทนความร้อนไม่ไหว จึงทำให้เนื้อจารบีไม่เกาะอยู่ภายในรางวิ่งของตลับลูกปืน และส่งผลให้ตลับลูกปืนทำงานแบบเหล็กสีกับเหล็กโดยตรงเพราะไม่มีชั้นฟิล์มจารบีเคลือบอยู่
- 🔥เม็ดลูกกลิ้งและวงแหวนเกิดการขยายตัว: เมื่อเม็ดลูกกลิ้งขยายตัวเกินขนาด อาจจะส่งผลให้การทำงานของลูกปืนทำงานในสภาวะที่มีพิกัดงานสวมที่ผิดเพี้ยนไป เช่นเม็ดลูกกลิ้งอาจจะแน่นเกินไป ทำให้เม็ดลูกกลิ้งล็อคตัว และกลายเป็นวงแหวนวงในหมุนแทน (วงแหวนวงในครูดอยู่กับเพลาโดยตรง: เหล็กสีเหล็ก)
อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ลูกปืนทนความร้อนให้เหมาะสมกับงบของคุณก็เป็นส่วนสำคัญ เราไม่จำเป็นจะต้องใช้ตัวแพงสุดหรือตัวดีสุดเพื่อแก้ปัญหาตลอดเวลา วันนี้เราจึงมานำเสนอ “วิธีเลือกใช้แบริ่งทนความสูง” ให้ทั้งเหมาะสมกับงบประมาณของคุณและยังเหมาะสมกับสภาวะการทำงานของเครื่องจักรคุณอีกด้วย
วิธีเลือกใช้แบริ่งทนความร้อนสูงสำหรับตลับลูกปืนเม็ดกลม (ภายใน 4 ขั้นตอน)
ตารางฉบับย่อ (สรุปให้แล้ว)
ขั้นตอน | สภาวะการทำงาน | รหัสต่อท้ายลูกปืน | ข้อยกเว้น |
1 | สภาวะการทำงานที่มีอุณหภูมิ น้อยกว่า 70 °C | เบอร์ทั่วไป | – |
2 | สภาวะการทำงานที่มีอุณหภูมิ มากกว่า 70 °C | C3 | – |
3 | สภาวะการทำงานที่มีอุณหภูมิ น้อยกว่า 150 °C | C3, GJN, HT | – |
4 | สภาวะการทำงานที่มีอุณหภูมิ น้อยกว่า 350 °C | VA201, VA208, VA228 | ทำความเร็วรอบได้ต่ำมาก |
ขั้นตอนที่ 1: สภาวะการทำงานที่มีอุณหภูมิ น้อยกว่า 70 °C
ถ้าหากว่าตลับลูกปืนของคุณทำงานอยู่ภายใต้สภาวะการทำงานที่มีอุณหภูมิน้อยกว่า 70 °C ทางเราจะแนะนำให้ใช้ตลับลูกปืนเบอร์ปกติที่ไม่ติด C3 ต่อท้าย
ยกตัวอย่างรหัสลูกปืน:
- 6202-2Z
- 608-2Z
- 6310-2Z
ขั้นตอนที่ 2: สภาวะการทำงานที่มีอุณหภูมิ มากกว่า 70 °C
ในลักษณะการทำงานที่มีอุณหภูมิสูงเกิน 70 °C หลายคนอาจจะส่งสัยควรเปลี่ยนจารบีเป็นจารบีทนความร้อนสูงหรือยัง?
จารบีอเนกประสงค์ LGMT 2, LGMT 3 จริงๆ แล้วสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 120 °C เลยทีเดียว ดังนั้นการที่เราเปลี่ยนไปใช้จารบีทนความร้อนอาจจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุและเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุด
การที่ตัวตลับลูกปืนทำงานภายใต้ความร้อนเกิน 70°C แต่ลูกปืนดันแตกหรือพังเร็วกว่าปกติ อาจจะมาจากการที่ตัวตลับลูกปืนไม่มีค่าช่องว่างภายในเพียงพอที่จะรองรับความร้อนที่สูง
สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อค่าช่องว่างภายในของตลับลูกปืนมีไม่เพียงพอเมื่อต้องทำงานภายใต้สภาวะที่ร้อนจัด:
- เม็ดลูกกลิ้งจะขยายตัว
- เม็ดลูกกลิ้งจะไปเบียดกับวงแหวนวงในและวงแหวนวงนอก
- ค่าพิกัดงานสวมของทั้งตัวตลับลูกปืนจะเปลี่ยนไป
- อาจจะส่งผลให้ตัวเม็ดลูกกลิ้งล็อคตัวเองกลายเป็นวงแหวนวงในหมุนสีกับผิวเพลาแทน (เหล็กสีกับเหล็ก)
- อาจจะส่งผลให้ตัวเม็ดลูกกลิ้งล็อคตัวเองกลายเป็นวงแหวนวงนอกหมุนสีกับตัวเสื้อแทน (เหล็กสีกับเหล็ก)
อ่านต่อ: ตลับลูกปืน C3 คืออะไร?
เปลี่ยนมาใช้ตลับลูกปืนที่มีรหัสต่อท้ายตามด้วย C3 ยกตัวอย่างเช่น:
- 6202-2Z/C3
- 608-2Z/C3
- 6310-2Z/C3
ขั้นตอนที่ 3: สภาวะการทำงานที่มีอุณหภูมิ น้อยกว่า 150 °C
โดยปกติตลับลูกปืนเม็ดกลมที่มีฝาปิดมาสองข้างทาง SKF จะมีการเติมจารบีมาให้พอดีอยู่แล้วภายในตัวตลับลูกปืน อย่างไรก็ตามจารบีที่เติมเข้ามาตอนแรกจะเป็นจารบีอเนกประสงค์อย่าง LGMT 2 SKF ทำให้บางทีงานที่เรานำลูกปืนไปใช้อาจจะทนความร้อนไม่ไหว
เมื่ออุณหภูมิเกิน 120°C แต่ไม่เกิน 150°C ทางเราจะแนะนำให้ใช้ตลับลูกปืนที่มีการเติมจารบีทนความร้อนมาในตัว อย่างตลับลูกปืนที่มีรหัสต่อท้าย GJN หรือ HT เป็นต้น
ตัวอย่างรหัสตลับลูกปืนเม็ดกลมที่เติมจารบีทนความร้อนมาอยู่แล้ว:
- 6202-2Z/C3GJN
- 608-2Z/C3GJN
- 6310-2Z/C3GJN
อ่านต่อ: ตลับลูกปืน GJN คืออะไร?
ขั้นตอนที่ 4: สภาวะการทำงานที่มีอุณหภูมิ น้อยกว่า 350 °C
สุดท้ายนี้ ถ้าคุณยังต้องใช้ตลับลูกปืนเม็ดกลมที่สามารถทนความร้อนได้ตั้งแต่ 150°C จนสูงสุดถึง 350°C คุณอาจจะต้องหันมามองตลับลูกปืนชนิดพิเศษ เป็นตลับลูกปืนที่เนื้อไม่ได้เป็นเหล็กแต่ทำมาจากกราไฟท์แทน
ข้อดีของตลับลูกปืนชนิดนี้คือคุณไม่ต้องเติมสารหล่อลื่นเลย เพราะว่าด้วยผิวที่เป็นกราไฟท์การทำงานของลูกปืนจะสร้างชั้นการหล่อลื่นให้ตัวลูกปืนเองโดยอัตโนมัติ
ข้อยกเว้น
อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ตลับลูกปืนรุ่นนี้มีข้อยกเว้นที่ควรเข้าใจไว้ นั่นก็คือตลับลูกปืนชนิดนี้จะต้องทำงานในสภาวะที่มีความเร็วรอบต่ำมาก
ตัวอย่างการนำไปใช้
หนึ่งในตัวอย่างการนำไปใช้ก็คือการนำไปลำเลียงชิ้นงานภายในตู้อบที่มีความร้อนสูงมาก เช่นลำเลียงน็อตเข้าตู้อบ (ความเร็วรอบต่ำแต่ร้อนจัด)
ตัวอย่างรหัสตลับลูกปืนชนิดพิเศษ:
- 6202-2Z/VA228, 6202-2Z/VA201, 6202-2Z/VA208
- 608-2Z/VA228, 608-2Z/VA201, 608-2Z/VA208
- 6310-2Z/VA228, 6310-2Z/VA201, 6310-2Z/VA208
อ่านต่อ: ตลับลูกปืน VA228, VA201, VA208 คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร?
สรุป
การเลือกใช้ตลับลูกปืนที่ถูกต้องจะสามารถช่วยยืดอายุการทำงานของเครื่องจักรของคุณได้มหาศาล กรณีศึกษาที่เราเคยไปแก้ไขปัญหามาสามารถยืดอายุการทำงานได้สูงสุดถึง 8-10 เท่า ซึ่งจะทำให้กระบวนการผลิตของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่า คุณควรจะใช้โซลูชั่นแบบใดจึงจะเหมาะสำหรับเครื่องจักรของคุณ คุณสามารถติดต่อเข้ามาได้เลยที่ tms.in.th บริษัทเตียวโม่วเส็งจำกัด ผู้แทนจำหน่าย SKF อย่างเป็นทางการ ที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนานกว่า 60 สิบปี มั่นใจได้เลยว่าจะได้รับคำปรึกษาจากบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับคัปปลิ้งโดยเฉพาะ พร้อมให้บริการอย่างเต็มที่ ตอบเร็วทันใจแน่นอน