“เครื่องจักรพัง ตลับลูกปืนแตก”: 5 ปัญหาใหญ่ที่คุณคาดไม่ถึง

“ตลับลูกปืนแตกอีกละ ซื้อก็บ่อย ถอดก็ยาก ติดตั้งก็ยาก เบอร์อะไรเยอะแยะไปหมด ปวดหัว.. ยี่ห้อนี้ใช้ไม่ดีเลย แพงก็แพง” คงได้ยินกันจนชินว่าตลับลูกปืนในเครื่องจักรแตกอีกแล้ว ทำให้เครื่องจักรหยุดทำงาน ยี่ห้อไหนๆ ก็เหมือนๆกัน

ไม่จริง! SKF ไม่เหมือนใคร

หลายๆท่านคงเห็นว่า SKF ใช้ 3 อาทิตย์พัง ใช้ยี่ห้อญี่ปุ่น 2 อาทิตย์พัง ยั่งงี้ใช้ยี่ห้อญี่ปุ่นดีกว่าถูกกว่าตั้งเยอะ

จริงครับ ในกรณีที่เราปฏิบัติไม่ถูกต้อง 100% ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหนก็พังเหมือนกันหมด แต่ถ้าหากว่าเราแก้ปัญหาจากต้นเหตุได้ดีทั้งหมดผมบอกตรงๆเลย SKF โหดกว่ายี่ห้ออื่นเป็นอย่างแน่นอนครับ

ตลับลูกปืนเหมือนเป็นหัวใจสำคัญของเครื่องจักรเพราะว่าตลับลูกปืนตัวที่บ่งบอกถึงอายุการใช้งานของเครื่องจักร เพียงเหตุผลง่ายๆ เพราะว่าตลับลูกปืนนั้นเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดในเครื่องจักรส่วนใหญ่

ทำไมตลับลูกปืนถึงแตกง่ายจัง มันเป็นหัวใจของเครื่องจักรอย่างไรละ?

ตลับลูกปืนเป็นจุดที่ประคองให้จุดหมุนเคลื่อนไหวและจุดนิ่งอยู่ด้วยกัน มันมีหน้าที่คือลดแรงเสียดทานลง (Friction) รวมถึงการรับแรง (Load) ดังนั้นตลับลูกปืนถือว่าเป็นจุดของเครื่องจักรที่อ่อนไหว และโดนทำร้ายมากที่สุดถ้ามีอะไรผิดปกติ

5 ปัญหาใหญ่ๆ ที่ทำให้ตลับลูกปืนในเครื่องจักรของคุณแตกก่อนวัยอันควร

1. การเสียหายที่เกิดจากความล้า (Mechanical Fatigue 25.5%)

ความเสียหายที่เกิดจากความล้านั้นแปลง่ายๆคือเหมือนคนเรา เกิด แก่ เจ็บ ตาย ในตลับลูกปืนการที่มันโดนสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งาน พอถูกใช้ไปมันก็ต้องเสื่อมสภาพตามอายุงานและสุดท้ายก็พังไปตามธรรมดา

การที่เราสามารถลดความเสียหายที่ไม่จำเป็นหรือการจากไปของตลับลูกปืนก่อนวัยอันควรนั้นจะลดต้นทุนของการเป็นเจ้าของเครื่องจักรได้อย่างมหาศาล จาก 25.5% โดยเฉลี่ยให้เราลองคิดเล่นๆ ดูว่าถ้าเราเพิ่มความเสียหายที่เกิดจากความหล้าธรรมาชาติเป็น 100% ละก็ ต่อปีเราจะสามารถลดค่าใช้จ่ายของตลับลูกปืนโดยรวมได้เท่าไหร่

โดยสรุป

  • มีเพียงแค่ 25.5% ของลูกปืนในเครื่องจักรเท่านั้นที่เสียหายโดยธรรมชาติ อีก 74.5% เสียหายโดยที่เป็นข้อผิดพลาดจากผู้ใช้งานโดยตรง

2. การเก็บรักษาในคลังและการเคลื่อนย้ายของตลับลูกปืน (Storing and Handling 2.8%)

การเก็บรักษาและการเคลื่อนย้ายอาจจะไม่ใช่ประเด็นใหญ่ในวงการตลับลูกปืนซักเท่าไหร่ถ้าดูจากโอกาศการเกิด (เป็นเพียงแค่ 2.8%) อย่างไรก็ตามถ้าหากว่าทางโรงงานของคุณเก็บรักษาหรือเคลื่อนย้ายตลับลูกปืนไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้ตลับลูกปืนเสียหายรวดเร็วมากๆ

การสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นใกล้ๆ คลังเก็บตลับลูกปืน

การเก็บตลับลูกปืนในที่ที่ไม่คงที่ มีการสั่นสะเทือนตลอดเวลา เช่นถ้าคลังสินค้าตลับลูกปืนอยู่ใกล้เครื่องจักรใหญ่ๆที่มีแรงสั่นสะเทือนแรงๆ เป็นจังหวะๆ อาจจะทำให้ตลับลูกปืนที่นอนอยู่ในคลังเฉยๆ ได้รับแรงสั่นสะเทือนตามไปด้วยและมีโอกาศเกิดความเสียหายสูง

การเก็บตลับลูกปืนหรือจารบีนานจนเกินอายุ

หลายคนคงสงสัยว่า เอ้ย เก็บตลับลูกปืนนานเกินไปจะพังได้ยังไง ตลับลูกปืนเป็นเหล็กนะ

ตลับลูกปืนส่วนใหญ่จะถูกเคลือบด้วยน้ำยาป้องกันสนิมหรือสารหล่อลื่นมาจากโรงงาน การที่เรากักเก็บตลับลูกปืนนานจนเกินไป อาจจะทำให้สารป้องกันสนิมเสื่อมสภาพและเกาะเป็นคราบตามตลับลูกปืนหรือไม่สามารถทำหน้าที่กันสนิมได้ดีเหมือนเคย และอาจจะส่งผลให้ตลับลูกมีอายุการใช้งานที่สั้นลง

การขนย้ายตลับลูกปืน

การขนย้ายตลับลูกปืนก็เป็นผลอย่างมาก เพราะในบางอุตสหกรรมหรือคลังเก็บสินค้า มีสินค้ามากมาย และด้วยพนักงานที่เข้าใจว่าตลับลูกปืนนั้นเป็นเหล็ก คงไม่เกิดความเสียหาย หากต้องโยนตลับลูกปืนไปมา

ความที่ไม่รู้ว่ารหัสตลับลูกปืนสื่อถึงอะไร

และบางทีนายช่างจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่รู้วิธีการอ่านหรือแกะรหัสตลับลูกปืน จึงใช้วิธีแกะกล่องและฉีกซองตลับลูกปืนออกมาเพื่อใช้เวอร์เนียวัด โดยการใช้เวอร์เนียวัดที่ตลับลูกปืนโดยตรงเนื่องจากไม่รู้วิธีการแกะรหัสตลับลูกปืน นี่แหละครับทำให้มีโอกาสเกิดสนิมและมีฝุ่นปะปนในรางวิ่งของตลับลูกปืน และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรวดเร็วเมื่อนำตลับลูกปืนมาใช้จริงๆ

โดยสรุป

  • การเก็บรักษาไม่ดี
  • การขนย้ายไม่ดี หรือรุนแรง
  • วิธีการวางตลับลูกปืนควรวางแนวนอน
  • แกะออกจากห่อโดยที่ไม่ได้นำไปใช้ทันที

3. ฝุ่นน้ำหรือสสารเจือปน (Contamination 19.9%)

ในบางโรงงานอุตสาหกรรมอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะป้องกันสิ่งเจือปนเนื่องจากมีฝุ่นผงฟุ่งทั่วลายน์การผลิต เช่น โรงงานแป้ง เป็นต้นและในโรงงานกระดาษหนึ่งในขบวนการในลายน์ผลิตมีการฉีดน้ำซึ่งเป็นประเด็นทำให้มีโอกาศทำให้ตลับลูกปืนเจือปนกับน้ำได้ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับตลับลูกปืนอย่างรุนแรง

ในบางกรณีบางท่านอาจพบสนิมที่เกิดจากความชื่นทั้งๆที่ในบริเวรที่ปฏิบัติงานไม่มีโอกาศที่ตลับลูกปืนจะโดนน้ำเลยแม้แต่น้อย เหตุการณ์แบบนี้อาจจะเกิดขึ้นเมื่อตลับลูกปืนหยุดทำงานเป็นเวลานาน ความชื้นในอากาศจึงเข้าไปแทรกตัว ดังนั้นการหยุดเครื่องจักรเป็นเวลานานควรตรวจสอบสภาพเครื่องจักรอีกครั้งหนึ่งก่อนจะดำเนินงานใช้เครื่องจักรใหม่อีกครั้ง

แต่ในกรณีที่เราสามารถป้องกันได้คือเช่นในขณะประกอบตลับลูกปืน ถ้าหากว่าเรารักษาความสะอาดของสภาพแวดล้อมได้ดี และใช้อุปกรณ์ที่สะอาดในการปฏิบัติงานก็สามารถป้องกันการเจือปนได้ระดับนึงแล้ว

โดยสรุป

  • ไม่ดูแลรักษาความสะอาด
  • ด้วยความที่ไม่รู้ ผู้ใช้อาจจะแกะฝาออกจากตัวตลับลูกปืนเพื่อเติมจารบีจนทำให้ซีลตลับลูกปืนได้รับความเสียหาย
  • ใช้ตลับลูกปืนหรือระบบป้องกันการรั่วซรึมที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม

4. การประกอบติดตั้งตลับลูกปืนที่ไม่ถูกต้อง (Bearing Mounting 17.7%)

การประกอบตลับลูกปืนด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสม

การประกอบติดตั้งหรือถอดตลับลูกปืนนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ นายช่างในโรงงานอุตสากรรมส่วนใหญ่มักหาอุปกรณ์ใกล้ตัวมาใช้เพื่อทำการประกอบตลับลูกปืน บางท่านใช้ฆ้อนทุบไปที่ตลับลูกปืนโดยตรงเพื่ออัดตลับลูกปืนเข้าไปในเพลา

การตอกตลับลูกปืนโดยตรงด้วยฆ้อนนั้นสร้างความเสียหายกับตลับลูกปืนอย่างรุนแรงเนื่องจากเป็นการกระแทกตลับลูกปืนอย่างรุนแรง

พิกัดงานสวมตลับลูกปืน

นอกเหนือจากการประกอบแล้วก็ยังมีเรื่องพิกัดงานสวมอีก (Fit & Tolerance) การสวมใส่ตลับลูกปืนเข้ากับเพลานั้นต้องไม่แน่นเกินไปและไม่หลวมจนเกินไป

การตั้งศูญย์ตลับลูกปืนและเสื้อระหว่างการประกอบ

รวมไปถึงการจัดวางศูญย์ตลับลูกปืนโดยใช้อุปกรณ์การจัดศูญย์ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้ใช้อุปกรณ์ใดๆ เข้าไปช่วยจัดศูญย์เลย ส่งผลให้เกิดการเยื้องแนว หรือ Misalignment ซึ่งจะส่งผลให้ตลับลูกปืนทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

การใช้ตลับลูกปืนในบทบาทที่ผิดๆ (ข้าง Free และข้าง Fixed)

การจัดวางตลับลูกปืนนั้น ควรจะมีข้างใดข้างนึงที่ปล่อยให้ตลับลูกปืนสามารถขยับตัวได้ เพราะในขณะที่เพลากำลังหมุนด้วยความเร็วสูง เพลาจะเกิดความร้อนและขยายตัวโดยธรรมชาติ ทำให้ตลับลูกปืนมีความจำเป็นต้องดันตัวเองออกด้านข้าง หากเราวางตลับลูกปืนที่ไม่สามารถให้ตัวได้ในแนวแกน ตลับลูกปืนจะเกิดความเค้นออกด้านข้าง และเสียหายอย่างรวดเร็ว

โดยสรุป

  • การประกอบตลับลูกปืนโดยไม่ใช้อุปกรณ์ที่ปลอดภัยและถูกต้อง
  • ไม่ดูพิกัดงานสวมให้ดี และกลึงเพลาในขนาดที่ไม่เหมาะสมกับตลับลูกปืน
  • ประกอบตลับลูกปืนโดยไม่ใช้อุปกรณ์วัดศูญย์หรือทำอย่างผิดๆ
  • จัดวางตลับลูกปืนไม่เหมาะสม (ข้าง Fixed – ข้าง Free)

5. การใช้หรือเติมสารหล่อลื่นไม่ถูกต้อง (Lubrication 34.4%)

ไม่ว่าจะเป็นการเติมสารหล่อลื่นที่ไม่ถูกประเภท หรือการเติมสารหล่อลื่นมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ก็ส่งผลให้ตลับลูกปืนมีความเสียหายทั้งหมด 

เติมสารหล่อลื่อในปริมาณที่มากหรือน้อยเกินไป

โดยปกติช่างจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น มักใช้สโลแกนนึงในการเติมสารหล่อลื่นคือ “ไม่ปลิ้นไม่เลิก” คือการที่ใช้ที่อัดฉีดสารหล่อลื่นจนฉีดเข้าไปที่ในเสื้อตลับลูกปืนจนกว่าจะมีสารหล่อลื่นปลิ้นออกมาจากตัวเสื้อของตลับลูกปืน หารู้ไม่ว่าเมื่อเติมสารหล่อลื่นมากจนเกินไปก็จะทำให้ตลับลูกปืนร้อนเกินไปในขณะทำงานและไม่สามารถขยับตัวได้ดีเนื่องจากมันเบียดกันมากเกินไป อย่างไรก็ตามเมื่อเติมสารหล่อลื่นน้อยเกินไปก็เกิดการเสียดสีของเหล็กกับเหล็ก (Metal to metal contact) เนื่องจากมีสารหล่อลื่นไม่เพียงพอ

เติมชนิดของสารหล่อลื่นที่ไม่เหมาะสมกับงาน

โรงงานอุตสหกรรมส่วนใหญ่จะซื้อจารบีประเภทเดียวที่ใช้กับทุกงาน

ในบางกรณี ตลับลูกปืนทำงานอยู่ภายใต้ความร้อนจัด สารหล่อลื่นธรรมดาๆ ไม่สามารถรับไว้ได้ จึงทำให้สารหล่อลื่นมีความเหลวมากขึ้น และไม่สามารถเกาะตัวอยู่กับรางวิ่งได้เพียงพอ

หรือในบางกรณีในงานที่ตัวตลับลูกปืนต้องรับแรงสูง (High Load) จารบีปกติจะไม่สามารถรับแรงกดทับได้สูงมากนัก ทำให้ตัวจารบีปลิ้นออกมาจากตลับลูกปืนจนหมด จนเกิดภาวะขาดสารหล่อลื่น และเสียหายในที่สุด

โดยสรุป

  • เติมสารหล่อลื่นมากจนเกินไป
  • เติมสารหล่อลื่นน้อยจนเกินไป
  • ไม่ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะ

สรุป

ทั้งหมด 5 ปัญหานี้เป็นเพียงสาเหตุของความเสียหายแบบภาพใหญ่ๆ ถ้าท่านใดอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือข้อมูลเชิงลึก ท่านสามารถโทรมาติดต่อสอบถามเราได้ที่ บริษัท เตียวโม่วเส็ง จำกัด 02-639-4222

สุดท้ายนี้เรามีคำถามให้คุณลองสังเกตเล่นๆระหว่างปฏิบัติงาน ลองตั้งคำถามกับตัวเองดูจากคำถามต่อไปนี้:

  1. ตลับลูกปืนในเครื่องจักรของคุณเสียเร็วไปหรือปล่าว ? เร็วแค่ไหน? 3 อาทิตย์ ? 2 เดือน ?
  2. คุณคิดว่าสาเหตุของความเสียหายนั้นตกอยู่ในข้อใด ?
  3. คุณมีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร ?

ถ้าหากคุณสนใจวิธีการ ลดต้นทุนโดยรวมของการเป็นเจ้าของเครื่องจักร โดยการเสริมความรู้ด้านตลับลูกปืน เครื่องส่งกำลัง สารหล่อลื่น หรือ อุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ คุณสามารถติดตามข่าวสารสาระความรู้สนุกๆ แอดไลน์เราเข้ามาได้ที่ @tms1987